หอระฆังแม่โจ้ สัญลักษณ์แห่งกาลเวลา ภาพหอระฆัง ถ่ายมาเมื่อปี พ.ศ.2479
มีผู้ให้ความหมายไว้อย่างน่าฟังว่าระฆังมีรูปทรงกลม หมายถึงไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดสิ้นสุด ระฆังเป็นสัญลักษณ์แห่งกาลเวลา ที่อยู่คู่แม่โจ้มาอย่างยาวนานมากกว่า 86 ปี
หอระฆังแม่โจ้ สร้างขึ้นเพื่อกำหนดเวลาชีวิตประจำวัน ของนักเรียนแม่โจ้ อยู่คู่แม่โจ้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2477
ความสำคัญ:
การปลุกให้ตื่นนอนเวลา 05.00 น. เพื่อลงงานภาคปฏิบัติและรับประทานอาหารเช้า เวลา 06.00-08.00 น. เข้าชั้นเรียนเวลา 09.00-12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน เวลา 12.00-13.00 น. และถูกเคาะอีกครั้ง ในเวลา 13.00-16.00 น. และสุดท้ายย่ำระฆังเพื่อสวดมนต์ไหว้พระ ก่อนเข้านอนเวลา 21.00 น. และถูกตีบอกเวลาทุกชั่วโมง
ต่อมาภายหลังการรัวระฆังกลางดึกหลังเที่ยงคืน คืนใดเกิดขึ้น ย่อมบ่งบอกถึงกิจกรรมประเพณีการรับลูกแม่โจ้ใหม่ไว้ในอ้อมอกอีกครั้งหนึ่ง
หอระฆังดั้งเดิม ปี พ.ศ. 2477 สร้างด้วยไม้เนื้อแข็งทั้งหมด และใช้งานมายาวนาน จนเริ่มหมดอายุตามสภาพกาลเวลา มีการบูรณะให้สามารถใช้งานได้มาโดยตลอด
ผู้ให้ข้อมูล:
ศาสตราจารย์ ดร. ระพี สาคริก ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 7
สกุล หาภา ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 19
ชาคริต สุริยะเจริญ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 19
รองศาสตราจารย์ ดร. วิทยา ดำรงเกียรติศักดิ์ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 32
ภาพประกอบกระทู้:
หอระฆัง พ.ศ. 2479 (84 ปี ผ่านมาแล้ว)
เอกสารอ้างอิง:
สมุดแม่โจ้ พ.ศ. 2479
Read More